การดื่มเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอร์ ส่งผลต่อ สุขภาพ หรือ พัฒนาการของนักวิ่ง อย่างไร
ข้อมูลเบื้องต้น
ปริมาณแอลกอฮอร์ในเครื่องดื่ม ดังนี้
โดยปริมาณ 1 ดีกรี เท่ากับ 1 เปอร์เซนต์
- เบียร์ มีปริมาณแอลกอฮอร์ 4-7 ดีกรี
- สาโท มีปริมาณแอลกอฮอร์ 7-15 ดีกรี
- กระแช่ มีปริมาณแอลกอฮอร์ 10-12 ดีกรี
- สุราไทย มีปริมาณแอลกอฮอร์ 28-40 ดีกรี
- อุ มีปริมาณแอลกอฮอร์ 10 ดีกรี
- ไวน์ มีปริมาณแอลกอฮอร์ 10-15 ดีกรี
- วีสกี้ มีปริมาณแอลกอฮอร์ 40-50 ดีกรี
- วอดก้า มีปริมาณแอลกอฮอร์ 40-50 ดีกรี
หากดื่มบ้าง ไม่บ่อยนัก หรือ ดื่มในปริมาณไม่มาก ร่างกายก็จะสามารถกำจัดได้ทัน จึงอาจไม่ส่งผลชัดเจน
แต่หากดื่มค่อนข้างบ่อย หรือ ดื่มเป็นประจำ และ ดื่มในปริมาณมาก ย่อมส่งผลชัดเจนต่อร่างกาย
ขอกล่าวถึงสิ่งที่จะเป็น Point หลัก 1 ประเด็น สำหรับนักวิ่ง คือ ระบบไหลเวียนเลือด
นักวิ่งที่มีระบบไหลเวียนเลือดดี มักจะวิ่งได้ดี หรือ วิ่งค่อนข้างเก่ง
การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์เป็นประจำ จะส่งผลให้เส้นเลือดแข็งตัว ทำให้การไหลเวียนเลือดทำได้ไม่ดี
ฉะนั้น เมื่อระบบไหลเวียนเลือดทำได้ไม่ค่อยดี ย่อมส่งผลต่อพัฒนาการของการวิ่ง จึงไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
สำหรับผู้ที่ดื่ม ก็ขอให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพกาย ใจ ที่ดี
จากกรณีศึกษา ที่ว่า มีเพื่อนนักวิ่งที่ดื่มเป็นประจำ ทำให้เวลาวิ่งจะเหนื่อยมาก หลังจากนั้นได้ตัดสินใจเลิกเด็ดขาดปัจจุบันไม่ค่อยเหนื่อยแล้ว เพราะเลิกวิ่ง หันไปดื่มอย่างเดียว
สุดท้ายนี้ อยากบอกว่า
การดื่มแอลกอฮอร์เป็นสิ่งไม่ดี ถ้าเลิกได้ ก็เลิกนะครับ
แต่ถ้าเลิกไม่ได้ ก็ชวนผมด้วยนะครับผม
ขอบคุณที่ติดตามกัน #runnology
การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ สุขภาพ นักวิ่ง